ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

รายละเอียดเกี่ยวกับ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

สภาพทั่วไป :

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน ล่าง 1
(นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ สุรินทร์)

    1. กายภาพ
        1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต
            กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วยจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และสุรินทร์ มีพื้นที่ 51,760.25 ตารางกิโลเมตร ร้อยละ 30.70 ของภาค สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ดินร่วนปนทราย และดินเค็ม มีแม่น้ำสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี
        1.2 ลักษณะภูมิอากาศ
            พื้นที่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 อยู่ในแถบของลมมรสุมเขตร้อนลักษณะของลมฟ้าอากาศ และปริมาณน้ำฝน ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมเป็นสำคัญ ลมมรสุมที่พัดผ่านคือลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูกาลมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ในแต่ละฤดูจะมีช่วงเวลาไม่คงที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และอิทธิพลของลมมรสุมเป็นหลัก

    2. การปกครองและประชากร
        เขตการ ปกครองของ 4 จังหวัด มี 88 อำเภอ 756 ตำบล 10,025 หมู่บ้าน ประชากร จำนวน 6,580,983 คน
        
    3. โครงสร้างพื้นฐาน
        3.1 การคมนาคม
            กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัดตลอดจนทางท้องถิ่น(ทางหลวงชนบท) ที่สามารถใช้เดินทางติดต่อภายในจังหวัดและระหว่างจังหวัดได้สะดวกทุกฤดูกาล มีเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่านทุกจังหวัดในกลุ่มจังหวัด และเชื่อมโยงกับภาคต่างๆได้ทั่วทุกภาค
        3.2 การไฟฟ้า
            การให้บริการ กระแสไฟฟ้าในทุกพื้นที่ของกลุ่มจังหวัด (นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ สุรินทร์) มีการให้บริการกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอย่างเพียงพอ
        3.3 การประปา
            การให้บริการน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคส่วนใหญ่จะมีเฉพาะ ในเขตชุมชน เช่นในเขตเทศบาล และหมู่บ้านที่มีประชากรหนาแน่น การใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในชุมชน ประชากรยังอาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ และหน่วยงานของรัฐได้จัดหาไว้ให้ เช่น การขุดบ่อบาดาล บ่อน้ำตื้น เหมือง ฝาย ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
        3.4 การสื่อสารโทรคมนาคม
            กลุ่ม จังหวัด (นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ สุรินทร์)มีระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ประกอบด้วยโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ ไปรษณีย์และระบบอินเตอร์เน็ตอย่างทั่วถึง
        3.5 แหล่งน้ำ

            1. แหล่งน้ำผิวดิน เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร และน้ำย่อยหลายสาขาก่อให้เกิดแหล่งน้ำที่สำคัญ เช่น ลำน้ำมูล ลำน้ำชี ลำประทาว เป็นต้น
            2. แหล่งน้ำใต้ดิน ปริมาณน้ำใต้ดินที่ขุดได้จะมีคุณภาพดีเป็นบางพื้นที่ของจังหวัดและบางแห่งจะ มีปัญหาน้ำเค็ม เนื่องจากมีแร่ธาตุปนอยู่มาก
            3. แหล่งน้ำชลประทาน เป็นแหล่งน้ำที่กักเก็บไว้ใช้ในฤดูแล้ง ได้แก่การก่อสร้างเขื่อน
            อ่าง เก็บน้ำ ฝาย เป็นต้น ซึ่งในกลุ่มจังหวัดมีเพียงพอที่จะสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้อย่างเพียงพอในช่วง ขาดแคลนน้ำ